วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปท้ายบทที่ 5 และแบบฝึกหัด

สรุป บทที่ 5
           ปัจจุบันข่าวสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาช่วยสนับสนุนผู้บริหารในการบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ของธรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในเวลาที่ต้องการ จะช่วยให้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานขององค์การได้ ประการสำคัญ การที่ธุรกิจจะสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มิได้ขึ้นอยู่กับการที่หน่วยงานมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย มีราคาแพง และมีชุดคำสั่งที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ความสามารถในการจัดเก็บ การจัดลำดับ และการจัดการข้อมูล นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในแต่ละสถานการณ์
           เราจะแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
           ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ แต่เราจะให้ความสนใจกับโครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายแบบจำลองออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
           ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยมข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
           การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA
           ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย หมายถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆ มากกว่า 1 แห่ง โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในสถานที่หนึ่ง ขณะที่ข้อมูลส่วนหนึ่งเหลืออาจจะถูกเก็บรวมไว้ในอีกที่หนึ่งหรือถูกแยกเก็บไว้ในที่ต่างๆ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกเรียกมาประมวลผลและใช้งานได้เช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลไว้ ณ ที่แห่งเดียว การเก็บข้อมูลแบบนี้มีได้ 2 ลักษณะคือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม และระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่ายและเป็นที่คาดกันว่า ผลกระทบของเทคโนโลยีก้าวหน้าและโครงสร้างการทำงานของแต่ละองค์การที่เปลี่ยนไปในอนาคต จะมีส่วนทำให้เกิดการตื่นตัวในการนำระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลแบบมุ่งเป้าหมาย ระบบฐานข้อมูลแบบหลายสื่อคลังข้อมูล และกระทำเหมืองข้อมูล ยังได้รับการคาดหวังว่า จะเป็นเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับอนาคตอีกด้วย

อ้างอิงจาก : หนังสือระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ

แบบฝึกหัดบทที่5
1. เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
    ตอบ   2 แบบ ดังต่อไปนี้
                1. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียน (Record) ของข้อมูลมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย โดยผู้ใช้จะต้องเรียกข้อมูลตามลำดับที่จัดไว้ วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเหมาะกับงานที่มีระยะเวลาในการประมวลผลค่อนข้างแน่นอน และต้องใช้ข้อมูล ปริมาณมากในการประมวล ซึ่งการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - ช่วยให้งานออกแบบแฟ้มข้อมูลง่าย
                    - สะดวกต่อการออกแบบและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก
                    - ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์
                    - เสียเวลาในการดำเนินงาน
                    - ข้อมูลไม่ทันสมัยหรือไม่เป็นไปตามความจริง
                    - ต้องจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการนำไปแก้ไขแฟ้มข้อมูล
                 2. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ( Randon File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
                    - สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                    - มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                    - ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
                    - การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                    - มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
2. จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
    ตอบ  การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
                    - สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                    - มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                    - ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
                    - การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                    - มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
3. ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
    ตอบ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ    3 ประเภท ดังต่อไปนี้
                1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
                2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
                3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
    ตอบ  1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น มีประโยชน์แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย
             2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย มีประโยชน์เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบบจำลองเชิงลำดับขั้น
             3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีประโยชน์ในการจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ที่อยู่ในตารางเดียวกัน หรือตารางที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
    ตอบ   ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
            1. ภาษาสำหรับนิยมข้อมูล
            2. ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
            3. พจนานุกรมข้อมูล
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
     ตอบ  พจนานุกรมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมาย และอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลที่เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยพจนานุกรมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการข้อมูล เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
    ตอบ 1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
             2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยฐานข้อมูล
             3. จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล
             4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
             5. ประสานงานกับผู้ใช้
9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
    ตอบ   ปัจจุบันหลายองค์การได้มีการจัดหน่วยงานทางด้านฐานข้อมูลขององค์การขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสานสนเทศ เช่น รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ
10. จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศฐานข้อมูลในอนาคต
      ตอบ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น