วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา American Management System

คำถามกรณีศึกษา
   1. อะไรคือส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ที่ AMS
ตอบ  1. ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและเครือข่าย
         2. สิ่งที่สนับสนุนข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม
         3. ผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้

2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ AMS ได้รับจากระบบการจัดการองค์ความรู้
ตอบ     เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์กรที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งปันความรู้ทางธุรกิจในรูปของอินทราเน็ตเว็บไซต์ ในหัวข้อ การปฏิบัติงานที่ดี
3. ธุรกิจอื่นๆที่จะใช้อินทราเน็ตสำหรับการจัดการความรู้แบบเดียวกันกับ AMS   จะทำได้อย่างไร
ตอบ   คือจะต้องมีทรัพยากรทั้ง 5 ประการ คือ
            1. ทรัพยากรบุคคล (People Resources) บุคคลที่พัฒนาและควบคุมระบบสารสนเทศ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
           2.ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources) ประกอบด้วย อุปกรณ์กายภาพ (Physical Devices) และวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ของระบบสารสนเทศมีดังนี้
                             1. ระบบคอมพิวเตอร์
                             2. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์รอบข้าง
          3.ทรัพยากรซอฟต์แวร์ (Software Resources) เป็นชุดคำสั่งของการประมวลผลทั้งหมด ทั้งชุดคำสั่งของการปฏิบัติงานที่เรียกว่า โปรแกรม (Programs) ซึ่งควบคุมการทำงานโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลสารสนเทศที่ผู้ใช้
         4.ทรัพยากรข้อมูล (Data Resources) ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่ต้องมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ในองค์กร ข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ ทั้งข้อมูลตัวอักขระที่ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษร ทรัพยากรข้อมูลของระบบสารสนเทศโดยปกติจะรวบรวมเป็นฐานข้อมูล (Databases) ที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระเบียบแล้ว ฐานความรู้ (Knowledge Bases) ที่เก็บความรู้ในรูปแบบหลากหลาย
         5. ทรัพยากรเครือข่าย (Network Resources) เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ การประมวลผลสื่อสารและอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมโยงระหว่างกันด้วยสื่อการติดต่อสื่อสารและควบคุมด้วยซอฟต์แวร์สื่อสาร แนวความคิดเรื่องเครือข่ายที่เน้นเครือข่ายการติดต่อสื่อฐานเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของทรัพยากรของทุกระบบสารสนเท

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ปัญญาประดิษฐ์ (AI)   คือ  เครื่องจักรอัจฉริยะที่สร้างจากความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฉลาดทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นในลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เรียนรู้และเข้าใจความสามารถของมนุษย์ แต่ปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยข้อสังเกตเกี่ยวกับทางด้าน ชีววิทยา ส่วนความฉลาด (Intelligent) คือ ความคิดคำนวณ เพื่อให้สามารถบรรลุได้สู่เป้าหมาย ซึ่งสามารถพบได้ใน คน สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด เราไม่สามารถกำหนดรูปแบบมาตรฐาน ของรูปแบบการคำนวณได้อย่างชัดเจนว่า เป็นความฉลาดหรือไม่ เพียงแต่เราจะเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งรูปแบบการประมวลในลักษณะใช่หรือไม่ใช่นั้น ไม่จัดว่าเป็นปัญญาประดิษฐ์ เพราะปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถค้นพบวิธีในการแก้ไขปัญหานั้นด้วยตนเอง ซึ่งโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงๆ เราจะโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงๆ เราจะโปรแกรมนั้นเพียงแค่บางส่วนของความฉลาดเท่านั้นและสำหรับการมองปัญญาประดิษฐ์ว่าเป็นแบบจำลองความฉลาดของมนุษย์เราก็สามารถมองได้ แต่ความหมายนี้จะเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่แท้จริง การทำงานบางอย่างของปัญญาประดิษฐ์ นั้นบางครั้งไม่สามารถทำได้ดีกว่ามนุษย์ หรือสัตว์ซะอีก รูปแบบการแก้ปัญหาของปัญญาประดิษฐ์ ไม่สามารถวัดเป็นค่าได้ด้วย IQ (Import Quota)ได้เนื่องจาก IQ. เป็นค่าที่วัดได้จากอัตราส่วนระหว่างอายุกับเด็ก เพื่อตรวจสอบถึงความฉลาดของเด็กต่ออายุ เพื่อดูความเหมาะสมของการเจริญเติบโตเพื่อใช้เป็นค่าเปรียบเทียบในการวัดถึงความประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในการวัดเกณฑ์กับคอมพิวเตอร์ไม่ได้เนื่องจากรูปแบบในการดำเนินการไม่เหมือนกัน รูปแบบการเปรียบเทียบของ Arthur R. Jensen [Jen98] หัวหน้าส่วนการวิจัย ความฉลาดของมนุษย์ สำเร็จในเรื่องการสมมติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งธรรมดาจะมีความสามารถเท่าเทียมกัน แต่จะแตกต่างกันเนื่องจากคุณสมบัติ ทางชีววิทยาและกายภาพ  โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติทางด้านความเร็ว และหน่วยความจำที่มีจำนวนมาก ซึ่งความสามารถของโปรแกรมจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรมเมอร์ว่ามีแนวคิดในการออกแบบมากน้อยเพียงใด ซึ่งแนวคิดที่ซับซ้อนนี้จะเกิดได้เมื่อมีวัยวุฒิในระดับหนึ่งแล้ว และเมื่อใดที่มนุษย์สามารถทำอะไรได้มากกว่าคอมพิวเตอร์ แสดงว่าโปรแกรมดีไซน์เนอร์ เกิดความขาดแคลน ความรู้ความเข้าใจในการสร้างงานนั้นๆ  
                    ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์ งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีจำนวนประชากรทำงานด้วย เครื่องจักรกลอัจฉริยะก็มีเพิ่มมากขึ้น นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Alan Turing เป็นคนแรกทีเริ่มแนวคิด แรกเริ่มทำการบรรยาย ในปี 1947 โดยมีความคิดว่า ปัญญาประดิษฐ์คือทางที่ดีที่สุด สำหรับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในปี 1950 งานวิจัยที่เกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ ได้เพิ่มขึ้นยากมาย โดยอ้างอิงพื้นฐานบนคอมพิวเตอร์ โปรแกรมมิ่ง ซึ่งการทำเช่นนี้จึงทำให้เกิดคำถามว่า ปัญญาประดิษฐ์จะนำความเป็นมนุษย์ให้คอมพิวเตอร์หรือ ซึ่งควรจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมนุษย์มีความหลากหลาย อยู่มากนัก ในปี 1950 เค้า ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดของเครื่องกล โดยเขากล่าวว่า ถ้าหากเครื่องที่เลียนแบบความฉลาดของมนุษย์ก็ให้ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ความฉลาดแล้ว ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่ก็ยังมีนักปรัชญา บางคนที่ไม่ยอมรับข้อคิดเห็นดังกล่าว ซึ่งรูปแบบ Turing Test นี้เป็นการทดลองเพียงด้านเดียว คือ เครื่องกลที่การทดสอบแล้วถือว่ามีความฉลาดแล้ว แต่เครื่องกลก็ยังเรียนรู้ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด หนังสือ Brain Children ของ Daniel Dennelt ได้บรรยายเกี่ยวกับ Turing Test ได้ดีมาก และบางส่วนได้มีการพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น
                    วัตถุประสงค์ของปัญญาประดิษฐ์   คือ  ให้สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับระดับสติปัญญาของมนุษย์ โดยสามารถแก้ปัญหาได้ดีเท่ากับหรือมากกว่ามนุษย์ได้ โดยการเขียนโปรแกรมที่มีความซับซ้อน ซึ่งภาษาถูกใช้ เพื่อจำกัด ความฉลาด ซึ่งปัญญาประดิษฐ์ข้อมูลจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีวุฒิกาวะในระดับหนึ่งแล้ว หลายหัวข้อเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ สามารถจำลองได้ในคอมพิวเตอร์ เมื่อการทำงานเพิ่มมากขี้นความเร็วของซีพียู จะเพียงพอหรือไม่ สามารถสรุปได้ว่าเทคโนโลยีความเร็วของซีพียู ณ. เวลานั้นๆ จะสามารถรองรับการทำงานของโปรแกรมที่สร้างขึ้น ณ. เวลานั้นๆ ได้เมื่อต้องการเพิ่มความเร็วก็สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การทำ Parallel Processing ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นได้ Child Machine สามารถสร้างให้เรียนรู้ประสบการณด้วยตัวเองได้หรือไม่ ซึ่งเริ่มแนวคิดตั้งแต่ 1940 อย่างไรก็ตามโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ก็ยังไม่สามารถรับรูปแบบ การเรียนรู้แบบเด็กๆ ได้ แต่ปัญญาประดิษฐ์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาระดับความสามารถของตนเองได้ Alexander Kronrod นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ชาวรัสเซีย กล่าวว่าหมากรุก คือแมลงที่ทดลองด้านปัญญาประดิษฐ์เค้าใช้ แมลงวันผลไม้ เพื่อศึกษาคุณสมบัติการถ่ายทอด การเล่นหมากรุก ต้องใช้กลไกด้านสติปัญญา ถ้ามีการศึกษาที่ดีจะทำให้สามารถพัฒนา เล่นให้ดีขึ้นได้ สำหรับเกมส์ โกะ คือเกมส์ที่นิยมเล่นกัน ในจีน และญี่ปุ่น มีรูปแบบการเล่นคล้ายกับหมากรุก คือ มีบอร์ด และตัวเดิน- เกมส์ Go ที่เล่นกันมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น เป็นเกมส์ที่เผยให้เห็นถึงจุดด้อยเกี่ยวกับสติปัญญาในการเล่นเกมส์ของมนุษย์ในปี ค.ศ. 1930 นักคณิตศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่าไม่มี Algorithm ใดที่ปรากฏออกมาให้เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาของขอบข่ายทางคณิตศาสตร์ได้ จึงสรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์เราใช้หลักการทางคณิตศาสตร์อยู่ตลอดทำให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ทำแบบคนไม่ได้ปี ค.ศ. 1960 นักคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาทฤษฎีของ NP-complete problem domain ปัญหาเช่นนี้สามารถแก้ได้หมดแต่ใช้เวลา  
ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1.  Cognitive Science งานด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไรจึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชียวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
    -ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)   ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
     -ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet)  เป็นระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลล์มนุษย์
     ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)    เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน และสามารถทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งระบบจะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ด้ายการพิจารณากาข้อมูลเท่าที่มีเท่านั้น ระบบนี้ใช้วิธีการหาคำตอบได้แบบมนุษย์มากกว่าระบบงานทั่วไปซึ่งใช้เพียงประโยคเงื่อนไขธรรมดา
      เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)   หรืออัลกอริทึมพันธุกรรม ใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเองของระบบในการหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้นโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
     เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents)   ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับ ผู้ใช้ปลายทาง
 ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)    เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับใน ระหว่างการประมวลผล
  2.  Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3.  Natural Interface งานด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์
     ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)    รวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วยภาษามนุษย์
     - ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)    เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอินพุต/เอาท์พุต เพื่อใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกของภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ เช่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ
     - ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)   เป็นการนำเอาระบบต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอนเข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1.  ข้อมูลในระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
2.  ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3.  ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์ เช่น ความลำเอียง ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
          ระบบผู้เชี่ยวชาญ     (Expert Systems) เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ แต่ระบบนี้จะมีความสามารถเฉพาะด้านต่อปัญหาเฉพาะทางที่ไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงไปใช้แก้ปัญหาอื่นได้โดยง่าย
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.  ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ทั้งหมดและกฎที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจ
2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้และส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.  ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และ สามารถนำความรู้มาใช้งานได้ตลอดเวลา
2.  ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจ
3.  สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจ
4.  ช่วยให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5.  ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์     (Geographic Information Systems : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การบุกรุกทำลายป่า ฯลฯ เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆได้
ตัวอย่างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

องค์ประกอบหลักของ  GIS แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
1.  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องอ่านพิกัด เครื่องกวาดตรวจ พล็อตเตอร์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ
2.  โปรแกรม คือชุดคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ
3.  ข้อมูล คือข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในระบบ GIS เช่น ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic Data) จะใช้จุด เส้น และพื้นที่แทนปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลก และ ข้อมูลอรรถอธิบาย (Attribute Data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพ เช่น ชื่อถนน ลักษณะพื้นผิว ฯลฯ
4.  บุคลากร คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ GIS
5.  วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือ วิธีการที่องค์กรนั่น นำ GIS นำไปใช้
หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1.  การนำเข้าข้อมูล (Input)
2.  การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
3.  การบริหารข้อมูล (Management)
4.  การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
5.  การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1.  ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือ
2.  แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูล
3.  สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
4.  สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5.  สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐาน
6.  สามารถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้
7.  สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

เรื่องการงดจำหน่าย I phone 4s ในประเทศจีน

ข่าวเรื่องการงดจำหน่าย I phone 4s ในประเทศจีน ว่าเหตุผลใดจึงไม่มีการวางจำหน่ายในวันเวลาที่กำหนดและจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้    ให้วิเคราะห์ข่าว
          บริษัทแอปเปิล ประกาศยกเลิกการจำหน่ายไอโฟน 4 เอสอย่างเป็นทางการในจีน เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยเพราะไม่สามารถควบคุมฝูงชนจำนวนมหาศาลที่มารอต่อคิวบริเวณนอกร้านได้
แอปเปิลประกาศการตัดสินใจดังกล่าว หลังเห็นว่าประชาชนที่มารอต่อคิวกันตั้งแต่คืนวันที่ 11 ม.ค.เริ่มก่อเหตุทะเลาะวิวาท ส่งผลให้ทางการกรุงปักกิ่งจำเป็นต้องต้องใช้หน่วยสวาท (SWAT) เข้ามาควบคุมสถานการณ์ โดยสาวกไอโฟนที่ชุมนุมกันอยู่หน้าร้านแอปเปิล สโตร์ ในย่านซานหลี่ตุน ในกรุงปักกิ่ง ต่างพากันโกรธแค้น และแสดงความไม่พอใจที่งานดังกล่าวต้องถูกยกเลิกลง กลุ่มลูกค้าหลายร้อยคนต่างตะโกนถ้อยคำด่าทอ ขณะที่บางคนใช้ไข่ขว้างปาเข้าใส่หน้าร้านแอปเปิล  เนื่องจากไม่พอใจที่ต้องมารออยู่ที่หน้าร้านตลอดทั้งคืนท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวจัด ขณะที่บางคนก็ตำหนิการจัดงานที่ไม่มีความพร้อม แต่ก็ยอมรับว่าการควบคุมฝูงชนจำนวนมากเป็นเรื่องยาก ขณะที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าแอปเปิลจะเปิดจำหน่ายสินค้าที่ร้านดังกล่าวหรือไม่ ขณะที่ร้านแอปเปิล สโตร์อีกแห่งหนึ่งในย่านซีตัน จำหน่ายไอโฟน4เอส เป็นปกติ โดยไม่มีรายงานเหตุความรุนแรง
ทั้งนี้ ไอโฟน 4 เอส มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดมืดทั่วจีนก่อนที่จะมีการเปิดตัว แต่บริษัทมีกำหนดจะเปิดจำหน่ายในร้านแอปเปิลในจีนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 มกราคม 2555


ที่มา :http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1326435145&grpid=04&catid=&subcatid=

วิเคราะห์ข่าว
          เนื่องจากประเทศจีนมีการลักลอบนำไอโฟน 4 เอสเข้ามาจำหน่ายในตลาดมืดทั่วจีนก่อนที่จะมีการเปิดตัว ไม่เฉพาะแค่ไอโพน 4 เอสเท่านั้น ยังก๊อปปี้อย่างอื่นอีกมากมาย เนื่องจากเหตุผลนี้จึงทำให้ไม่อยากให้วางจำหน่ายสินค้าที่จีน 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปท้ายบทที่ 14 และแบบฝึกหัด

สรุปท้ายบทที่14
        ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.  การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
          เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eletronics mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (ofice automation) ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ
2.  การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
          โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
3.  เครื่องมือในการทำงาน
          เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
          ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
        แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคต ผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตน มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บรูณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
     1.  คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
     2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
     3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
     5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
      6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
     7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
     8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
     9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
     10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
     11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
     12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
     14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
     15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
        ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน และกำลังทำการศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต โครงการพัฒนาความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลไม่เพียงต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมส่วนรวมอีกด้วย เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
อ้างอิง : หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

แบบฝึกหัดบทที่14
1.จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
ตอบ  - องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขันและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
             -  มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
             - ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร?
ตอบ    IT   ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างองค์กรผู้ที่มีอำนาจตลอดจนรายละเอียดของงานเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานและธุรกิจขององค์กร หลาย ๆ องค์กรมีการปรับโครงสร้างเพื่อลดระดับชั้นขององค์กรลงเพื่อให้การตัดสินใจและการบริหารงานมีความรวดเร็วขึ้นโดยภาพรวมแล้ว IT ส่งผลกระทบต่อองค์กรในเรื่องต่อไปนี้
3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร?
ตอบ  1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
              2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
               3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้    เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
          เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
4. เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง?
ตอบ  1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
        2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
        3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
        4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น
        5. ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น
        6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต
        7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร?
ตอบ   1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ    และส่งผลให้กระบวนการในการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป     ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสาร และสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมาก และรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)   ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ
          2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์    โดยเทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
             3. เครื่องมือในการทำงาน เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ     เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น     หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงาน และวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ ลง แต่ยังคงรักษา หรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินขององค์การมากขึ้นในอนาคต
              4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Softwareอีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของงานได้อย่างมาก      และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย        ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ
            5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์การหรือภายนอกองค์การ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก      คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร?
ตอบ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล    ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ   กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย การใช้งาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง ( schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข
8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ?
ตอบ  ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม เปิดที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
            ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ความรู้ ซึ่งหมายถึง สารสนเทศผนวกกับทักษะประสบการณ์ของบุคลากร ความรู้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์การ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์การ ในการบริหารความสำเร็จจำเป็นต้องขยายผลจากการทำให้วิสัยทัศน์มีความชัดเจนขึ้น  ซึ่งจะเพิ่มความกระตือรือร้นขององค์กรในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์การ ประสิทธิภาพ ประสิทธิ ผลขององค์การ ขึ้นกับความสามารถของบุคลากรในองค์การ ในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ภายในองค์การ เราต้องสร้างตัวเร่งในขับเคลื่อนให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เอื้ออำนวย ดังนั้นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวไปข้างหน้า สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับเราท่านลูกพ่อขุนทุกคน
10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ    1.ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆหากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
           2. ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
          3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
          4. การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งานและสามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่างบริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผุ้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น